( MACULAR DEGENERATION ) ในช่วงที่ผ่านมาสองสามปีได้มีการดูแลสุขภาพตาให้กับผู้สูงอายุเกี่ยวกับสุขภาพตาและสายตากัน อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้สูงอายุตามชนบทโดยสมาคมจักษุแพทย์ร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุข โครงการบริจาคแว่นตาและตรวจวัดสายตาให้กับผู้สูงอายุโดยสมาคมส่งเสริม วิชาการแว่นตาแห่งประเทศไทย
เนื่องจากตาเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ ผู้ที่สูญเสียดวงตาไปด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม เปรียบเสมือนกับตนเองได้ขาดแขนขาไป แต่ในขณะนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์ได้พัฒนาไปอย่างมากการรักษาโรคทางตา มิได้ยุ่งยากดังแต่ก่อนมีการใช้อุปกรณ์หรือมีการคิดค้นวิธีกี่รักษาใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เช่น ในการผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้วิธี Phamacoemulsification
การรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์รักษาโรคที่จอภาพ การผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ เป็นต้น โรคจุดภาพเสื่อมเหตุอายุ ( AGE – RELATED MACULAR DEGENERATION ) หรือ AMD หรือ ARMD ) เป็นโรคหนึ่งที่ได้วิวัฒนาการในการรักษาเช่นเดียวกับ ปัจจุบันโรคจุดภาพชัดเสื่อมเป็นสาเหตุของอาการตาบอดที่ไม่สามารถแก้ไขได้
โรคจุดภาพชัดเสื่อมเหตุอายุด้วยแสง คำจำกัดความตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า คือ โรคที่เกิดขึ้นที่จุดภาพชัด ซึ่งมีผลทำให้เสื่อมสภาพโดยมีสาเหตุมาจากอายุ
โรคจุดภาพชัดเสื่อมแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. โรคจุภาพชัดเสื่อมที่เกิดแก่ ผู้สูงอายุ
2. โรคจุดภาพชัดเสื่อมที่เกิดแก่ ผู้ที่มีสายตาสั้นมากๆ ๆได้แก่ผู้ที่มีสายตาสั้นมากกว่า 6.00
ไดออปเตอร์ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
ทั้งสองโรคนี้จะมีจุดสุดท้ายเหมือนกัน แต่มีพื้นฐานแตกต่างกัน
ระบาดวิทยาของโรค ( EPIDEMIC OF DISEASE )
ในประเทศไทยจากผลการสำรวจพบว่า ระบาดวิทยาในประเทศไทยกับในประเทศอเมริกานั้นมีอุบัติการณ์และธรรมชาติของโรคตาแตกต่างกันในอเมริกาพบว่าส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดตาบอด และในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 65 – 74 เป็นสาเหตุอันดับที่สองที่ทำให้ตาบอด ในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 45 - 69 ปี ที่ทำให้เกิดตาบอดเป็นอันดับที่สอง แต่ในอเมริกาจากการสำรวจในปี 2020 ประมาณกันว่าชาว
อเมริกัน 7.5 ล้านคนจะต้องสูญเสียการมองเห็นเนื่องจากแมคคูล่าเสื่อมโดยแต่ละปีจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 167,000 คน แม้ตอนนี้จะยังไม่มีวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพแต่การรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ จะช่วยป้องกันไม่ให้ลุกลาม ไปจนถึงขั้นทำให้ตาบอดได้
จากการสำรวจในประเทศไทยซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสถิติผู้ป่วยในอเมริกาแล้ว เหตุผลที่สำรวจแตกต่างกันนั้นอาจเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่ต่างกันซึ่งในบ้านเรานั้นได้รับ แสงแดดที่ค่อนข้างแรงมากกว่า และตลอดทั้งปีแต่อย่างไรก็ตามสถิติผู้ป่วยในประเทศไทยนั้นยังไม่มีความชัดเจนเท่าไรนัก เนื่องจากเรายังไม่ให้ความสำคัญต่อการคัดกรอง และยังไม่มีการสำรวจอย่างจริงจังในบางกรณีผู้สูงอายุยังไม่ทราบตนเองว่าได้เป็นโรคนี้แล้ว อาจเข้าใจผิดว่าสายตาที่เริ่มมัวนั้นมีสาเหตุมาจากสภาพร่างกายที่แปรเปลี่ยนไป หรือในบางกรณีผู้ป่วยได้เข้ามารับการรักษาแต่แพทย์บางท่านอาจจะวินิจฉัยว่า เป็นโรคตาอย่างอื่นซึ่งทำให้เกิดตัวเลขสถิตินั้นยังคงไม่มีความชัดเจน
สาเหตุ
จะรู้ได้อย่างไรเป็นโรคนี้ แมคคูล่าเสื่อมเป็นการเสื่อมอย่างช้าๆ ของเซลล์ในแมคคูล่า ซึ่งเป็นบริเวณเล็กๆสีเหลือง ใกล้กับส่วนกลางของเรติน่าซึ่งเป็นบริเวณที่ไวต่อการมองเห็นมากที่สุด ซึ่งเป็น ส่วนที่ใช้ในการอ่าน เขียน ขับรถ และแยกแยะใบหน้าคน เมื่อเกิดแมคคูล่าเสื่อมขึ้นจะทำให้มองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นคดงอ รูปทรงไม่ชัดเจนหรือพร่ามัวเส้นต่างๆ จะมองดูเป็นคลื่นและเกิดเป็นหมอกตรงกลางภาพ ที่เห็นก็จะไม่มีผลต่อภาพรอบๆ คือ เห็นดำตรงกลางภาพแต่บริเวณรอบๆไม่ดำ
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคจุดภาพชัดเสื่อมเหตุอายุนี้หรือแมคคูล่าเสื่อมทางการแพทย์ ยังไม่ทราบ สาเหตุที่แน่นอนเพียงแต่มีข้อสันนิษฐานว่า โรคนี้น่าจะเกิดจากการที่ตัวจุดรับภาพชัด
( Macular ) เสื่อมสภาพ อันเนื่องมาจากแสงยูวีหรือแสงอัลตราไวโอเลต หรือแสงแดด และแสงที่มีความสว่างมากๆ อาทิเช่น แสงจากเครื่องถ่ายเอกสาร การมองแสงสะท้อนจากกระจกที่สะท้อนแสง การมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่า
ทุกคนมีความเสื่อมต่อการเกิดโรคจุดภาพชัดเสื่อมมากน้อยบ้างแตกต่างกันไป แมคคูล่า จะเริ่มเสื่อมลงก่อนที่เราจะรู้ว่าโรคนี้เป็นเวลานานในคนปกติแล้ว แมคคูล่าเริ่มเสื่อมได้ตั้งแต่ในวัยเด็ก จนถึงอายุ 30 ปี การเสื่อมจะเกิดเร็วขึ้นเมื่ออายุได้ 50 ปี พออายุ 65 ปี จำนวนผู้ป่วยแมคคูล่าเสื่อม ก็จะเพิ่มมากขึ้น
ผู้ที่มีดรูเช่น ( Drusen ) เกิดขึ้นที่เรติน่าก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ดรูเช่นจะเกิดขึ้นที่เรติน่าเมื่ออายุ 35 ปี ถึง 60 ปี หลังจากนั้นจุดเหล่านี้ก็จะเกิดรวดเร็วขึ้น ทำให้ความเสี่ยงต่อแมคคูล่าเสื่อมมีมากขึ้นตามไปด้วย
ผู้ที่เกิดแมคคูล่าเสื่อมในตาข้างหนึ่งก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดขึ้นกับอีกข้างเช่นกัน ภายใน 4 ปี ที่ตาข้างแรกเป็นแมคคูล่าเสื่อมแล้ว ตาอีกข้างก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นถึง 23 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากนี้ผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคนี้ชนิดแห้ง ยังมีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคแมคคูล่าเสื่อมชนิดเปียกได้
อาการ ( SYMPTOM )
การที่จุดภาพชัดเสื่อมสภาพนั้นทำให้พยาธิสภาพแปรเปลี่ยนไป ซึ่งในระยะหนึ่งจะมีเส้นเลือดเกิดใหม่ ( Meovas cularization ) งอกขึ้นมาจากข้างใต้จุดภาพชัด ( Macula ) และระยะเวลาต่อมาเส้นเลือดนั้นจะแตกทำให้มีน้ำเหลืองหรือเลือดในชั้นเนื้อเยื่อของจุดภาพชัดนั้น จะมีผลทำให้ตาพร่ามัวมองดูภาพ บิดเบี้ยวไม่ชัดเจนซึ่งถ้าอาการมัวเกิดขึ้นในระยะต้นแพทย์ยังสามารถรักษาและแก้ไขได้ แต่ส่วนใหญ่คนไข้จะไม่รู้ว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับจัดภาพชัดของตนเองโรคจึงลุกลามและยากต่อการแก้ไข ซึ่งในระยะที่มีเส้นเลือดฝอยแตกแล้วจะกลายเป็นแผลเป็นที่จุดภาพชัดการมองเห็นจะมืดลงและอาจจะลุกลาม ไปที่น้ำวุ้นตาด้วย การมองเห็นจะเสียไปอย่างถาวร และในที่สุดเกิดตาบอดได้คนไข้จะไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางได้ อาการจะเหมือนมีอะไรมาบังสิ่งนั้นทำให้มองเห็นไม่ชัด เราจะมองเห็นเพียงแต่สิ่งที่อยู่ข้างๆรอบๆ ของภาพเท่านั้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโรคจุดภาพชัดเสื่อม นั้นทำให้มีผลอย่างยิ่งในการมองของคนเรา เมื่อเป็นโรคนี้แล้ว จะไม่สามารถรักษาให้จุดภาพชัดนั้นกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้เลย เปรียบเสมือนคนที่เป็นอัมพาตที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องเป็นภาวะต่อคนอื่น
ถ้าเป็นต้อกระจก ( Cataract ) ก็จะเสี่ยงต่อจุดรับภาพชัดเสื่อมด้วยการเป็นต้อกระจกอย่าง หนามีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการเกิดแมคคูล่าเสื่อมเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนต้อกระจกบางๆ จะไปเพิ่มความเสี่ยงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ แต่การผ่าตัดลอกต้อกระจก เพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปถึง 200 เปอร์เซ็นต์ เพราะตาสูญเสียความสามารถในการป้องกันแสงแดด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงชนิดหนึ่ง ภายในระยะเวลา 5 ปี เรติน่าของผู้ป่วยที่ลอกต้อกระจกออก จะแสดงความชราเทียบเท่ากับความชราปกติที่ต้องใช้เวลาถึง 30 ปี
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ ผู้ที่มีตาสีฟ้า มีดรูเซ่นบนเรติน่า ( ราว 30 เปอร์เซ็นต์ ) และมีประวัติบุคคล ในครอบครัวป่วยด้วยแมคคูล่าเสื่อมมาก่อน
การวินิจฉัยโรคที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
1. เท่าที่ผ่านมานั้น แพทย์จะใช้วิธีการตรวจวัดสายตา เพื่อดูประสิทธิภาพของการมองเห็นโดยใช้ตาราว Amsler Grid
2. การใช้การส่องตรวจซึ่งควรเป็นจักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านจอตา
3. ในปัจจุบันจักษุแพทย์จะใช้วิธีการฉีดร่วมกับการถ่ายภาพเพื่อหาตำแหน่งเส้นเลือดที่เกิดใหม่
( Neovascularzation ) ได้อย่างชัดเจน
วิธีการใช้ AMSLER GRID ( ภาพประกอบ )
วิธีการใช้ Amsler Grid
ให้ถือตารางที่เห็นนี้ในระยะห่างเท่ากับการอ่านหนังสือตามปกติ สวมแว่นตาหากจำเป็นต้องใช้ ปิดตาข้างซ้ายและมองไปที่จุดขาวตรงกลาง สังเกตดูว่ามองเห็นเส้นเป็นเส้นตรงหรือไม่ มีการโค้งหรือผิดเพี้ยนหรือเปล่า มีเส้นขาดๆหายๆ ไปหรือไม่ ? จากนั้นให้ปิดตาขวาบ้างและทำแบบข้างต้น ให้เช็คตามเวลาที่จักษุแพทย์ของคุณแนะนำ หากมีความผิดปกติ ให้ปรึกษาจักษุแพทย์ทันที
ข้อจำกัดในการรักษา
1. มีความเข้าใจในหลักการรักษาและผลของการรักษา ซึ่งแพทย์ คนไข้ และญาติจะต้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน มีความคาดหวังที่ตรงกัน
2. คนไข้มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับการรักษา อาทิเช่น ในกรณีที่มีการฉายแสงที่ตานั้น
ตาคนไข้ ต้องมองนิ่งๆนานถึง 89 วินาที ถ้าตาลอกแลก เปลี่ยนทิศทางการฉีดเข้าไปนั้นจะไม่ได้ผล
3. คนไข้ที่จะเลือกรับการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องมีกำลังทรัพย์ในการจ่ายค่ารักษาที่สูง ซึ่งค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งเป็นเงินหลายหมื่นบาท และจะต้องเข้าใจว่าเป็นการรักษาที่ลงทุนสูง แต่ไม่สามารถให้หายขาดได้
4. ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาที่ใช้ร่วมกับการฉายแสงเลเซอร์ไม่ควรที่จะรักษาด้วยวิธีนี้
การรักษาในอดีตและปัจจุบัน
การรักษาโรคจุดรับภาพเสื่อมหรือแมคคูล่าเสื่อมที่ผ่านมาถ้าคนไข้มีอาการอยู่ในระยะเริ่มต้น แพทย์จะช่วยชะลอการบวมของแมคคูล่า ( จุดภาพชัด ) ที่เกิดจากเส้นเลือดที่เกิดใหม่โดยการให้ยา รับประทานหรือยาหยอดตาซึ่งในความเป็นจริงนั้นยาทั้งสองตัวนี้ มิได้ช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น เท่าไหร่นักเป็นเพียงแค่การประคับประคองอาการเหล่านั้นอาจจะมีการผ่าตัดเข้าไปถึงเส้นเลือดนั้นออกมา ซึ่งวิธีนี้จะมีความเสี่ยงสูงมากเพราะอาจจะทำให้จอตาฉีกขาดเป็นอันตรายอย่างมาก ซึ่งวิธีนี้ที่ไม่นิยมในการรักษา การรักษาที่ดีที่สุดคือการยิงเลเซอร์ทำลายบริเวณเส้นเลือดที่เกิดใหม่ ซึ่งถ้าเส้นเลือดนั้นไม่ได้อยู่ใต้จุดภาพชัด ( Macula ) แพทย์จะยิงเลเซอร์ทำลายบริเวณที่ต้องการได้ทันที แต่ในกรณีที่เส้นเลือดเกิดขึ้นใหม่อยู่ในตำแหน่งใต้จุดแมคคูล่า