ตาเหล่ (ตาเขหรือตาส่อน) คือสภาวะที่ลูกตาทั้งสองข้างไม่ขนานกัน โดยที่ตาข้างหนึ่งอาจเหล่ออก เหล่เข้า เหล่ขึ้นบนหรือลงล่างก็ได้ ตาเหล่นั้นอาจเหล่ตลอดเวลา หรือเหล่เฉพาะบางเวลาก็ได้
เช่นในขณะที่กำลังจ้องมองวัตถุขณะที่ร่างกายไม่แข็งแรง เช่น ป่วย เหมื่อย ตาเหล่เป็นโรคที่พบได้บ่อยอาจจะพลเห็นได้ในเด็กตั้งแต่แรกเกิด หรือเริ่มเป็นเมื่อเด็กโตแล้วหรือเป็นในผู้ใหญ่ก็ได้
สาเหตุส่วนใหญ่ของตาเหล่เกิดจาก กล้ามเนื้อตาของตาทั้งสองข้างไม่ประสานกัน และอาจพบเป็นกรรมพันธุ์ได้
โรคตาเหล่แม้จะพบเห็นกันได้บ่อยๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่คนทั่วไปยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ดีพอ ทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดหลายประการ เช่น
1. เข้าใจผิดคิดว่าโรคตาเหล่ในเด็กเมื่อโตขึ้นจะหายไปเอง ความจริงแล้วโรคตาเหล่ไม่มีการหายได้เอง ถ้าไม่รับการรักษาที่ถูกต้อง การที่มีการเข้าใจผิดเช่นนี้นั้นเกิดจากมีการเข้าใจสับสนกันระหว่างโรคตาเหล่
กับลักษณะที่เรียกว่าตาเหล่เทียม เนื่องจากเด็กเล็กๆยังไม่มีดั้งจมูก ทำให้เห็นดั้งจมูกแบนกว้างไปปิดส่วนหัวตาทั้งสองข้าง จึงดูเหมือนกับว่ามีตาเหล่ทั้งๆที่ความจริงตาไม่เหล่ เมื่อเด็กโตขึ้นจมูกจะโด่ง
ขึ้นลักษณะที่ดูเหมือนตาเหล่จึงหายไป ทำให้มีผู้เข้าใจผิดคิดว่าโรคตาเหล่หายไปได้เอง เมื่อเด็กโตขึ้น
2. เข้าใจผิดคิดว่าโรคตาเหล่เป็นโรคที่ไม่รักษาได้ เพราะเห็นว่าเป็นความพิการที่เป็นมาตั้งแต่เด็ก ความจริงแล้วโรคเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้โดยไม่ยากนัก ดั้งนั้นเมื่อพบว่าเด็กเป็นตาเหล่ควร
รีบพามาหาจักษุแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอจนโต
3. เข้าใจผิดคิดว่าโรคตาเหล่ปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องรักษาก็ได้ เพราะเป็นเรื่องของความสวยงามเพียงอย่างเดียว ความจริงแล้วโรคตาเหล่นี้ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา นอกจากทำให้เกิดผลเสีย
ในด้านความสวยงามแล้ว
ยังทำให้ตาข้างที่เหล่เสื่อมลง คือตามัวลงเรื่อยๆเนื่องจากไม่ได้ใช้งาน ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆตาที่มัวลงจะกลับคืนมาดีเหมือนเดิมได้ แต่ถ้าทิ้งไว้นานๆตาจะมัวยิ่งขึ้นและไม่สามารถรักษาให้กลับคืนมา
ได้ดีเหมือนเดิมได้
4. เข้าใจผิดว่ารอไว้รักษาเมื่อเด็กโตขึ้นก็ได้ เช่น ตอนก่อนเข้าโรงเรียน หรือโตเป็นผู้ใหญ่เสียก่อน เนื่องจากเห็นว่าเด็กยังเล็ก ทำให้ได้รับความยุ่งยากลำบากในการรักษา และกลัวการผ่าตัด ความจริง
การรักษา
ตาเหล่ไม่ได้หมายถึง
ว่าจะต้องทำการผ่าตัดกับทุกรายไป เพราะยังไม่มีการรักษาอื่นๆอีกหลายวิธี ถึงแม้ว่าต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ก็หมดกังวลได้ เพราะเป็นการผ่าตัดที่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างไร อต่การที่ปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา
กลับเป็นอันตรายมากกว่า คือทำให้สายตาเสื่อมลงดังกล่าวมาแล้ว
การรักษาตาเหล่มีหลายวิธี แล้วแต่ว่าเป็นตาเหล่ชนิดใด เช่น
1. ปิดตาข้างที่ดี เพื่อบังคับให้ผู้ป่วยใช้แต่ตาข้างที่เหล่ เป็นการรักษาสายตาซี่งเสื่อมไปเนื่องจากไม่ได้ใช้งานให้กลับดีขึ้น
2. รักษาโดยการให้ใส่แว่นสายตาที่เหมาะสม
3. ใช้ยาหยอดตา
4. บริหารกล้ามเนื้อตา
5. รักษาโดยการผ่าตัด
แพทย์อาจต้องใช้หลายๆวิธีร่วมกันไป ข้อสำคัญที่ทำให้การรักษาได้ผลดี คือการที่มารับการรักษาแต่เนิ่นๆ และความร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วย เนื่องจากการรักษาอาจต้องใช้เวลาพอสมควร
|