ReadyPlanet.com


สายตาสั้นจะกลับเป็นสายตาพอดีเมื่ออายุมากขึ้น


ใครผิดใครถูก เดี๋ยวรู้กัน

                             “สายตาสั้นจะกลับเป็นสายตาพอดีเมื่ออายุมากขึ้น”
ผู้ ปฏิบัติงานตรวจวัดสายตาทุกคน คงเคยมี  Patient    ถามว่า “สายตาสั้นจะกลับเป็นสายตาดีเมื่ออายุมากขึ้นใช้ไหม?”   ผู้
คนส่วนมากมักจะเข้าใจว่า ใช่ ถูกต้อง เพราะคงเคยได้เรียนมา หรือได้ยินได้ฟังมาในทำนองนี้ แต่อาจยังไม่เคยได้ยิน ใครอธิบายให้ชัดเจนว่ามันดีขึ้นอย่างไร กระบวนการที่ทำให้มันดีขึ้นเป็นอย่างไร รับรองได้เลยว่าไม่มีใครในโลกนี้อธิบายให้คุณฟังได้ว่าสายตาสั้นจะดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น เพราะมันไม่จริง! เป็นเรื่องของความเข้าใจคลาดเคลื่อน
            ตอนนี้ขอสรุปก่อนว่า ไม่จริง และไม่ถูกต้องที่คนสายตาสั้นจะกลับเป็นสายตาดี (พอดี) เมื่ออายุมากขึ้น มี   2 ประเด็นหลักที่ทำให้ผู้คนเข้าใจในเรื่องนี้ผิดและคลาดเคลื่อน
            ประเด็นที่ 1 “คลาดเคลื่อนในการตีความตำราวิทยาศาสตร์” ท่านที่เรียนหนังสือมาทางสายวิทยาศาสตร์ คงยังจำได้ดีว่า สายตายาวใช้เลนซ์บวก ( + ) สายตาสั้นใช้เลนส์ลบ ( - )  เนื่องจากค่ากำลังสายตาเลนส์ได้ยืมเอาเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์มาใช้ จึงเกิดความสับสนเอาเครื่องหมาย + และ - ของค่ากำลังสายตามาหักล้างกันในเชิงคณิตศาสตร์แต่ความจริงแล้วค่ากำลังสายตาไม่ใช้โจทย์เลขคณิต + , -   เป็นเพียงสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่าถ้าเป็นเครื่องหมาย +   หมายถึงเลนซ์นูน และถ้าเครื่องหมาย -   หมายถึงเลนซ์เว้า นี่เป็นที่มาของความคิดที่ว่า สายตาสั้น เครื่องหมาย -   เมื่อต่อมาอายุมากขึ้นสายตายาวใช้เลนซ์เครื่องหมาย +   ก็นำเอามาหักกันทางคณิตศาสตร์ซึ่งอาจจะเป็น 0 พอดีก็ได้ แต่ความจริงแล้วมันคนละเรื่องเดียวกัน เรียกว่าคลาดเคลื่อนการตีความตำราวิทยาศาสตร์
            ประเด็นที่ 2   “ คนอื่นเข้าใจผิดคิดว่าตาดีขึ้น ” โดยปกติชาวเอเชียทุกคน เมื่ออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป กล้ามเนื้อในการเพ่งชัด
 ( Accommodation ) จะเริ่มเสื่อมจะมีอาการเห็นใกล้ไม่ชัด หรือคือเป็นสายตายาวในคนมีอายุนั้นเอง ซึ่งก็ต้องใช้เลนซ์บวก ( + ) เพื่อช่วยในการเพิ่มกำลังเพ่งชัด สรุปแล้วก็คือ เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 40 ปีขึ้นไป ไม่ช้าก็เร็วต้องใส่เลนซ์แว่นบวก ( + )   เพื่อช่วยในการเพ่งชัดกันทุกคนไม่ว่าคนนั้นจะสายตาสั้น, สายตายาว หรือสายตาเอียงอยู่ก่อนแล้วก็ตาม คราวนี้พวกที่สายตาสั้นไม่มากประมาณ -1.00 DS หรือ -2.00  DS  เมื่อมีอายุ 4 0 ปีขึ้นไป ก็ต้องใช้แว่นเลนซ์บวก ( + ) ช่วยในการเพ่งชัดเช่นคนทั่วไป แต่สำหรับคนสายตาสั้นไม่มากนั้น เมื่อถอดแว่นออกก็มีเสมือนหนึ่งใส่แว่นเลนซ์บวก ( + ) เข้าไป คนสายตาสั้นจึงสามารถถอดแว่นออกอ่านหนังสือได้อย่างสบาย เพราะได้เลนซ์ แว่น + ช่วยในการดูหนังสือ จะรู้สึกว่าเพื่อนคนที่สายตาสั้นมีสายตาดีกว่าตนเพราะไม่ต้องใช้แว่นช่วยในการดูหนังสือ ซึ่งมันไม่จริงเพราะถอดแว่นเลนซ์ - ออกก็เสมือนกับใส่แว่นเลนซ์ + เข้าไปนั้นเอง
            เรื่องรวมทั้งหมดที่จะเขียนในคราวนี้ก็คือเรื่อง ACCOMMADATION AND PRESBYOPIA  ( การเพ่งชัด และสายตายาวใน
ผู้สูงอายุ ) นัยน์ตามนุษย์เรามีความสามารถพิเศษมากในเรื่องการเพ่งชัดคือไม่ว่าจะมองไปที่ไกลหรือใกล้ก็สามารถปรับภาพกล้องถ่ายรูประบบ “ AUTO-FOCUS ” แต่นัยน์ตามนุษย์ยอดเยี่ยมมากกว่า
            กระบวนการเพ่งชัด    ( Accommodation )    พอจะอธิบายอย่างง่ายๆให้เข้าใจได้ดังต่อไปนี้ เมื่อมีภาพที่เห็นไม่คมชัดไปตกลงที่ Retina  จะมีกระแสประสาทส่งผ่านไปยังระบบประสาทพวก ซิมทาถีติค ( PARASYMPATHETIC NERVE FIBRE )   ซึ่งก็จะมีการกระตุ้นไปยังกล้ามเนื้อซิเลียอะลี่ ( Ciliary Muscle ) ของตา ทำให้เกิดสิ่งต่อไปนี้
1.      มีการหดตัวของ circular และ  loungitudinal Fibre ทำให้ ciliary เคลื่อนตัวไปข้างหน้า
2.      ความตึงผิวของถุง Crystlline lens ลดน้อยลง
3.      ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Crystlline lens   ขนาดเล็กลง
4.       มีแรงกดบริเวณรอบข้าง Crystlline lens ทำให้ความโค้งส่วนหนึ่งโก่งตัวงอโค้งมากขึ้น เป็นผลทำให้เกิดเป็นกำลังเลนซ์ +
5.      ส่วนกลางของ Crystalline lens จะหนาตัวขึ้น เป็นผลให้ความลึกของ Anterior chamber  ลดน้องลง มีผลช่วยให้มีกำลังสายตาเปลี่ยนไป
6.      IRIS  จะมีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย
ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนการเกิดเพ่งชัดขึ้นของนัยน์ตาคนเรา ในทางตรงกันข้าม หากมีการกระตุ้นของระบบประสาท ซิมพาถีติค ( SYMP ATHETIC NERVE FIBRE ) คือนัยน์เพ่งชัด จากระยะ 1 เมตรขึ้นไปจนถึง INFINITY ก็จะเกิดขบวนการตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ Crystalline lens   แฟบตังลง เมื่อคนเราเริ่มสูงอายุมากขึ้น ชุดกล้ามเนื้อซิเลียอะลี่ ( ciliary Muscle ) เริ่มเสื่อมลง การยืดหยุ่นก็จะไม่มี ความสามารถในการโค้งงอตัวของ Crystalline lens   ก็ไม่มี จึงต้องใช้กำลังสายตาจากภายนอกมาช่วย โดยการใส่แว่นสายตาเลนซ์ + หรือ โดยการถอดแว่นสายตาเลนซ์    -   ออก   ตอนนี้คงเข้าใจกันอย่างถูกต้องแล้วว่า
      “ไม่จริง ! ที่คนสายตาสั้นจะกลับเป็นสายตาพอดีเมื่ออายุมากขึ้น”
      การบริหารสายตาเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกับการบริหารร่างกาย   คนเราส่วนใหญ่จะละเลยการดูแลและเอาใจใส่กับนัยน์ตาของตนเอง ต่อเมื่อเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยเกี่ยวกับนัยน์ตาขึ้นมาแล้วจึงทำให้คิดได้ว่าเราควรจะถนอมดวงตาว้าเพื่อเก็บไว้ใช้งานได้อีกนานจนถึงตลอดชีวิต
      นัยน์ตานั้นเป็นอวัยวะของร่างกายที่เสื่อมเร็วที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอวัยวะอื่นๆ เช่น เมื่อคนเราอายุ 40 ปี จำเป็นต้องใส่แว่นตาดูใกล้หรือหนังสือ
 
และเมื่ออายุเลข 60   ปีขึ้นไปแก้วตาจะเสื่อมลงที่เราเรียกว่าเป็นต้อกระจกเหตุที่แก้วตาเสื่อมเป็นเพราะหลายๆอย่างแต่ส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นกับ เราโดยที่เราไม่รู้สึกตัวคือ รังสีแสงอุลตราไวเลต ที่กระทบถูกลูกนัยน์ตาของเราเป็นเวลานานๆแก้วตาจะเสื่อมไป นอกจากนี้คนที่สายตาสั้นมากๆ อาจเกิดเนื่องจากพันธุกรรม พวกนี้อวัยวะของตาจะเสื่อมโดยเฉพาะพวกจอรับภพ นอกจากนี้โรคบางอย่างเช่น เบาหวาน, พาคินสัน จะทำให้เป็นต้อกระจก
      การบริหารสายตาช่วยแก้ปัญหาโรคกล้ามเนื้อตาหรือโรคสายตาเสื่อมมาก เพียงแต่ขอให้มีความตั้งใจและอดทนในการบริหาร ท่านก็จะพบกับความสำเร็จอย่างแน่นอน
      การบริหารตาแต่ละจุดนั้น หลังจากบริหารเสร็จขอให้หลับพักสายตาและกล้ามเนื้อตาสักครู่จึงจะเริ่มจุดต่อไป การตั้งใจบริหารอย่างมีความอดทนบ่อยๆ ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้นเร็วหรือถ้าไม่มีเวลาบริหารตาบ่อยๆ ขอให้ทำในตอนเช้าหนึ่งครั้งและตอนเย็นหนึ่งครั้ง และทุกครั้งที่บริหารขอให้ตั้งใจฝึกอย่างจริงจัง


ผู้ตั้งกระทู้ Admin กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2008-04-07 19:33:23 IP : 58.9.79.227


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1368371)

PRESBYOBIA ควรเป็น PRESBYOPIA

ผู้แสดงความคิดเห็น p (kpreecha-at-sanook-dot-com)วันที่ตอบ 2010-03-12 23:28:11 IP : 119.31.121.72


ความคิดเห็นที่ 2 (1387156)

ป.ท.ว.ด.=ป้องกันเเละปราบปรามT.waldo

ผู้แสดงความคิดเห็น ป.ท.ว.ด.=ป้องกันเเละปราบปรามT.waldo วันที่ตอบ 2010-08-21 21:00:48 IP : 124.122.233.11



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.