ReadyPlanet.com


ตาบอดสี


            คนตาบอดสีส่วนใหญ่จะเป็นมาแต่กำเนิดโดยจะไม่รู้ตัวจนอายุหลายสิบปีเป็นหนุ่มสาวจึงได้รู้ว่าตัวเองตาบอดสี แต่มิใช่ว่าคนตาบอดสีจะอยู่ในโลกของสีขาวและสีดำหรือมองไม่เห็นสีเลย อันเป็นความเข้าใจผิดของคนทั่วไป   ตาบอดสีส่วนใหญ่จะสับสนในการแยกสีในกลุ่มสีเขียวกับสีแดงอมม่วงเท่านั้น มีเป็นส่วนน้อยที่มีความสับสนในการแยกสีแดงเข้มกับสีเขียวเข้ม    และส่วนน้อยมากที่มองไม่เห็นสีเลย ฉะนั้นคนที่เราเรียกว่า   ตาบอดสี หมายถึง คนที่มองเห็นสีในโทนเขียวและโทนแดงผิดไปจากคนปกติเท่านั้นหรือไม่สามารถแยกสีต่างๆ ได้ทั้ง   3 สี คือ สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน
                        คนเรามองเห็นสีต่างๆ ได้อย่างไร
            การที่คนเราสามารถเห็นเป็นสีต่างๆ ได้นั้นเกิดจากการผสมของกันของสี 3 สี ได้แก่ สีแดง, สีเขียว, สีน้ำเงิน   และสีต่างๆ จากภาพที่ปรากฏต่อหน้าเรานั้นจะต้องเดินทางผ่านกระจกตา    ( Cornea )   ,แก้วตา ( Lens ) ตรงไปปรากฏเป็นภาพอยู่บนจอประสาทตา ( Retina ) ที่จอประสาทตาก็มีเซลล์รับแสงที่จะเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นสัญญาณประสาทอยู่   2 ชนิดคือ
            1. Blue – Sensitive Pigments ( Cyanolabe )   มีความไวต่อแสงที่มีความยาวคลื่นแสงที่   400 NM.   คือสีน้ำเงิน ( ความยาวคลื่นแสงสั้น )
            2.   Green - Sensitive Pigments   ( Chlorolabe )   มีความไวต่อแสงที่มีความยาวคลื่นแสงที่   540 NM. คือ สีเขียว ( ความยาวคลื่นแสงปานกลาง )
            3. Re - Sensitive Pigments   ( Erythrolabe )   มีความไวต่อแสงที่มีความยาวคลื่นแสงที่   570 Nm.  คือ   แสงสีแดง   ( ความยาวคลื่นแสงสูง )
            แต่เม็ดสีทั้ง   3 ชนิดนี้มีความคาบเกี่ยวกันที่บริเวณจอประสาทตา ตรงกึ่งกลางของเรติน่า จะเป็นตำแหน่งของ Macula  และโฟเวียที่บริเวณ    Macula   ส่วนใหญ่ประกอบด้วย  Cone Cells  และรอบๆ จะเป็น Rod Cells
            ถ้ามีแสงสีแดงตกลงบนจอประสาทตา Cons   ที่ไวต่อแสงสีแดงจะถูกกระตุ้น ส่งสัญญาณประสาทออกมามาก สมองก็จะรับรู้ถึงแสงสีแดงได้
            ในกรณี Rod Cones  เลยจะเห็นสีแดงเป็นเม็ดสีแดงอยู่ใน   Rod Cones  เลยจะเห็นสีแดงเป็นสีดำ โดยคนๆ นี้อาจจะผูกเนตไทสีแดงไปงานศพก็ได้ เราพบว่ามีคนตาบอดสีแดงแบบนี้ประมาณ 1 % เท่านั้น
            ในคนตาบอดสีเขียวสามารถเห็นสีปฐมภูมิได้   2   สี คือ
-         พวกที่มีความยาวคลื่นแสงยาว ( เหลือง, ส้ม, แดง ) จะปรากฏแลเห็นเป็นสีเหลือง
-         พวกที่มีความยาวคลื่นแสงสั้น ( น้ำเงิน, ม่วง ) จะปรากฏออกมาแลเห็นเป็นสีน้ำเงิน
คนที่ตาบอดสีเขียวจะไม่สามารถแยกสีแดงและสีเขียวออกจากกันได้
            คนที่ตาบอดสีเขียวและสีแดงจะมีลักษณะที่เหมือนกัน คือ สามารถแลเห็นได้เฉพาะสีเหลืองและสีน้ำเงิน
            ในคนตาบอดสีน้ำเงินหาไม่ค่อยได้ คนพวกนี้จะไม่สามารถแยกสีน้ำเงินและสีเหลืองออกจากกัน เขาสามารถแลเห็นได้   2 สี คือ สีแดง และสีเขียว หรือสีน้ำทะเล
            พวกตาบอดสีน้ำเงินมักจะเกิดที่หลังซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นโรคของจอประสาทตา เช่น Retina Detachment  ( จอตาหลุดออก ) ส่วนที่จะเป็นมาแต่กำเนิดนั้นไม่ค่อยพบ
                        คนตาบอดสีส่วนใหญ่จะมีอาการอย่างไร
            ความผิดปกติในการมองเห็นสีต่างๆ กันอันเนื่องมาจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทที่อยู่บนจอรับภาพ โดยคนปกติมีเซลล์ประสาทรับสีอยู่   3   ชนิด ทำให้สามารถมองเป็นส่วนผสมที่พอเหมาะของแสงสีแดง, สีเขียว และสีน้ำเงิน   ที่ฉายไปบนฉากอันเดียวกันทำให้เป็นแสงสีขาวได้   แต่ถ้าเซลล์ประสาทของสีใดไม่ทำงานหรืออ่อนกำลังก็จะต้องเพิ่มสีนั้นลงไปในส่วนผสมเพื่อจะได้เห็นเป็นสีขาว
            ตาบอดสีแบ่งได้เป็น   2   ประเภทคือ
     1. เป็นมาแต่กำเนิด    ซึ่งพบว่ามีประมาณ   8%   ของผู้ชายและประมาณ    0.5%  ของผู้หญิงซึ่งจะเก็บยีนไว้เป็นลักษณะถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมโดยเป็นลักษณะด้อยบนโครโมโซม X ในผู้ชายซึ่งมี โครโมโซม X  เพียงอันเดียวจึงมีการแสดงออกมาว่าเป็นตาบอดสีมากกว่าในผู้หญิง
            ดังนั้นผู้ชายซึ่งมี โคโมโซม X    จะแสดงอาการของตาบอดสีส่วนผู้หญิง   โครโมโซม   XX อาการตาบอดสีจะไม่ปรากฏแต่จะเป็นตัวเก็บยีนไว้เพื่อถ่ายทอดทางพันธุกรรม ให้ผู้หญิงอาจมีอาการที่เห็นได้ชัดเจน คือ จะเห็นสีชมพู่กับสีเหลืองเหมือนกับสีเขียวอ่อน ส่วนสีแดงเข้มและสีเขียวนั้นมักจะไม่สับสน จึงขับรถได้ปกติและดำรงชีวิตเหมือนคนปกติทุกอย่าง นอกจากนี้ยังสามารถบอกสีได้ถูกต้องได้ว่า สิ่งของชิ้นนี้สีแดง, ชิ้นนี้สีน้ำเงิน, ชิ้นนี้สีชมพู   เป็นต้น เนื่องจากเขาได้เรียนรู้มาตั้งแต่เด็กว่าสีแดงเป็นอย่างนี้ เพียงแต่สีที่เขาเห็นจะไม่เหมือนกับคนปกติเท่านั้น
            คนที่ตาบอดสีแดงจะไม่สามารถแยกตัวอักษรสีเขียวบนพื้นสีส้ม
    2. พวกที่เห็นภายหลังจากการมีโรคทางจอประสาทตา   พวกนี้อาจจะเป็นกับตาข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้   เช่น   จอประสาทตาลอก, จุดรับภาพบวม   ผู้ป่วยจะสับสนสีในการมองเห็นในแกนสีน้ำเงิน – สีเหลือง มากกว่าสีแดง – สีเขียว   ซึ่งแตกต่างจากคนที่เป็นมาแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม พบว่าโรคของประสาทตาบางชนิดก็ทำให้สับสนสีในแกนสีแดงและสีเขียวได้ เช่นกัน ในรายที่สงสัยอาจต้องตรวจจอประสาทตาร่วมด้วย
            ในคนไข้ที่จอประสาทตาผิดปกติมาแต่กำเนิด เช่น Albinism ( คนสีเผือก ),   ConGenital   Night Blindness  จะมีความผิดปกติในการแลเห็นสีเพียงเล็กน้อย , ในคนไข้ที่เป็นโรค Cons Cells เสื่อม ( Cone Degenration ) และมีพยาธิสภาพของจอประสาทตา , พวก   Toxic Amblyopia  คนไข้พวกนี้จะมีตาบอดสีเป็นบางครั้ง , ส่วนคนไข้ที่เป็นโรคประสาทตา , ประสาทตาฝ่อ , ต้อหิน จะมีอาการบอดสีเขียว
                        จะรู้ได้อย่างไรว่าเราตาบอดสีหรือไม่
            แพทย์ที่จะตรวจว่าท่านเห็นสีผิดปกติหรือไม่จากการใช้เครื่องมือง่ายๆ ก่อน ลักษณะเป็นแผ่นกระดาษที่พิมพ์สีเขียวเป็นจุดๆ คละกัน โดยสีทั้งหมดจะเป็นสีที่อยู่ในสีปฐมภูมิ สีแดง – สีเขียว   ซึ่งคนตาบอดสีจะเห็นสีสับสน แต่คนปกติจะเห็นเป็นตัวเลขได้ชัดเจน เช่น ในแผ่นหนึ่งอาจจะเอาสีเขียวมาเรียงเป็นเลข   4   โดยมีพื้นเป็นจุดสีแดงคละกับสีม่วงและสีเทา คนนี้จะไม่แลเห็นเลข   4    แต่สามารถแลเห็นเลข   7
            แต่ในคนที่ตาบอดสีเขียวก็จะเห็นสีเขียวกับสีม่วงเป็นสีเทา ก็จะไม่แลเห็นเลข   7 แต่เห็นเลข   4   เป็นสีเหลืองอ่อนๆ จากการใช้ภาพจุดสีทั้งหมดประมาร   38 แผ่น ( Islithara’s Pseudo Isochomatic Plates ) แพทย์ก็จะบอกได้ว่าท่านมีตาบอดสีหรือไม่ชนิดใด แต่ยังบอกไม่ได้ว่าเป็นมากหรือน้อย ต้องใช้เครื่องมือที่มีความละเอียดสูงกว่า คือ   Nagel  Anomaloscope  ซึ่งให้ผู้ป่วยเอาแสงสีแดงผสมกับสีเขียว จนออกเป็นสีเหลือง วิธีนี้สามารถบอกความรุนแรงของภาวะตาบอดสีได้ว่าท่านเป็นตาบอดสีหรือเป็นเพียงเห็นสีผิดปกติ   นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออีกหลายอย่างที่ใช้ในการตรวจตาบอดสี เช่น Farnaworth – Munsell D 15  หรือ FM 100   ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดกระดุมให้ผู้ป่วยเรียงสี ตั้งแต่สีอ่อนสีแก่   นอกจากนี้ยังมีการทดสอบผ่านอินเตอร์เนต โดยแผ่นภาพสีจะปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ไปเรื่อยๆ จนจบการทดสอบ หลังจากรวมคะแนนก็จะบอกชนิดของตาบอดของตาบอดสีให้กับผู้ใช้ได้
                        จะรักษาตาบอดสีได้อย่างไรและจะเป็นมากขึ้นหรือไม่
            ตาบอดสีจะเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม    ถูกควบคุมโดยยืนที่อยู่บนโครโมโซม  X   จึงรักษาไม่ได้ ทางแพทย์ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นความพิการทางสายตา จึงไม่ต้องรักษา ยกเว้นในรายที่เป็นมากซึ่งมีความผิดปกติแบบสามารถแลเห็นสีได้เพียงสีเดียวเท่านั้น ( Monochromatic Vision ) คือ มีเซลล์รับแสงที่เป็น Rod  อย่างเดียวหรือ Blue Cone อย่างเดียว พวกนี้จะมีสายตาเลือนราง ( Low – Vision ) และสายตาสั้น ( Myopia ) ร่วมด้วยการใช้เครื่องมือช่วยในการมองเห็น ( Low Visiual Aids ) จะช่วยได้มาก
            ในคนตาบอดสีส่วนใหญ่ คือประมาณ   5 %  ในจำนวนทั้งหมด   8 %   จะมีเพียงความผิดปกติในการมองเห็นสีเขียวกับสีม่วง ( Deuternomolous ) อีก   1  %   เป็นความผิดปกติในการมองเห็นสีแดงกับสีน้ำเงินอมเขียว ( Protanopes )   และอีก   1 %  เป็นคนตาบอดสีเขียว ( Deuteranopes ) ทั้งหมดทั้ง   4   แบบ ไม่จำเป็นต้องใช้แว่นหรืออุปกรณ์ช่วยในการมองเห็นใดๆ
            คำศัพท์
คนที่ตาบอดสีแดง    เรียก   Protanopes
คนที่ตาบอดสีเขียว     เรียก    Deuternomolous
คนที่ตาบอดสีแดงกับสีน้ำเงินอมเขียว    เรียก   Protanomalous 
คนที่ตาบอดสีที่สามารถแลเห็นสีได้เพียง 2 สีเท่านั้น เรียก    Dichromatic Vision
คนที่ตาบอดสีที่สามารถแลเห็นสีเพียงสีเดียวเท่านั้น   เรียก   Monochomatic Vision
                                       

ทีมงานอขอบคุณดร. กวี โลพันธ์ศรี 

      เรียบเรียงโดย ดร. กวี โลพันธ์ศรี   D.V.M. , M.P.H., O.D.

 



ผู้ตั้งกระทู้ Admin กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ :: วันที่ลงประกาศ 2008-04-07 19:03:13 IP : 58.9.79.227


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1304450)

ดี

ผู้แสดงความคิดเห็น จอร์น (ford_132-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-10-29 13:26:27 IP : 61.7.171.9


ความคิดเห็นที่ 2 (1304451)

de ne

ผู้แสดงความคิดเห็น yun วันที่ตอบ 2008-10-29 13:30:10 IP : 61.7.171.9



[1]



กระทู้นี้ไม่เปิดให้แสดงความคิดเห็น

Copyright © 2010 All Rights Reserved.