ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ศูนย์อาชีวอนามัยบริการ ให้เช่า และ ศูนยเครื่องมือแพทย์บริการ ให้เช่า
dot
bulletให้เช่า Bone Densitometer เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ข้อมือ
bulletให้เช่า Bone Densitometer2 เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก ข้อเท้า
bulletให้เช่า EKG เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ พริ๊นเตอร์ A4
bulletให้เช่า vision screener เครื่องตรวจสายตาอาชีวอนามัย
bulletให้เช่า Spirometer เครื่องวัดสมรรถภาพปอด
bulletให้เช่า Audiometer เครื่องตรวจการได้ยิน
bulletเครื่องวัดแรงบีบมือ,เครื่องวัดแรงเหยียดขา หลัง
bulletAuto Refractometer คอมพิวเตอร์ตรวจวัดสายตา
dot
รับตรวจสุขภาพสายตาให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลและองการบริหารส่วนจังหวัด
dot
bulletรับเหมาโครงการตรวจสุขภาพสายตาประกอบแว่นตาผู้สูงอายุ
dot
สาระน่ารู้
dot
bulletภูมิแพ้ที่ตา
bulletต้อลม (pinguecula)
bulletตาขี้เกียจ Lazy Eye
bulletต้อกระจก (Cataract)
bulletต้อเนื้อ (Pterygium)
bulletต้อหิน (Glaucoma)
bulletการฝึกกล้ามเนื้อตาด้วยตนเอง
bulletตาขี้เกียจ (AMBLYOPIA)
bulletการดูแลสุขภาพดวงตา
bulletตาเหล่
bulletดูเหมือนตาเหล่
bulletเลเซอร์ช่วยดวงตา
bulletอุบัติเหตุต่อตา
bulletเบาหวานทำให้ตาบอด
bulletโรคจุดภาพชัดเสื่อม
dot
เลนส์โปรเกรสซีพคุณภาพ2_pdf
dot
bulletFreedom
bulletSEIKO LENS
bulletDiscovery WFT
dot
มุมพระเครื่อง (พระโชว์)
dot
bulletพระร่วงยืนหลังรางปืนสนิมแดง
bulletพระสมัยศรีวิชัย,อู่ทอง
bulletหลวงปู่บุญพระหล่อโบราณ ..ฯ
dot
Link.
dot
bulletใบจดทะเบียนธุรกิจ (บริษัท)


http://84000.org/
http://www.drtulaya.com/


การมองเห็นสีและตาบอดสี
      การมองเห็นสีต่างๆ ( Color Vision ) ได้นั้นเพราะจอประสาทของมนุษย์ดูดซึมคลื่นแสงต่างๆ เข้าสู่จอประสาทตาได้ แสงสว่างที่มนุษย์สัมผัสได้โดยประสาทตานั้น เป็นแสงสว่างที่มีคลื่นแสงช่วงที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 4.1   10 – 7   ถึง   6.5   10 – 7 เมตร หรือ 400 - 750 หรือ 380 – 760 MU 
      ในกระบวนแสงที่ตามนุษย์มองเห็นนี้เป็นแสงสีขาวซึ่งประกอบด้วยสีต่างๆ เพื่อประดับโลกให้สวยงาม ดังนั้นแสงจากดวงอาทิตย์หรือดวงไฟจึงเห็นเป็นแสงสีขาวเซอร์ไอแซดนิวตัน พบว่าเมื่อให้แสงสีขาวผ่านปริซึมซึ่งเป็นแท่งแก้วที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม ( ดังรูปที่   1 )จะสามารถแยกแสงออกมาได้เป็น 7 สี ซึ่งมีความยาวคลื่นต่างกัน      
7สี 1.สีแดง
  2.สีแสด
  3.สีเหลือง
  4.สีเขียว
  5.สีน้ำเงิน
  6.สีคราม
  7.สีม่วง
รูปที่1  
           แสงสีทั้ง 7 คือ แดง , แสด , เหลือง , เขียว , น้ำเงิน , คราม , ม่วง ถ้าหากความยาวคลื่นแสงยาวกว่าหรือสั้นกว่านั้นประสาทตามนุษย์รับไม่ได้ และเป็นน่าสังเกตว่าสีต่างๆ เหล่านี้มิใช้ว่าแยกจากกันได้โดยเด็ดขาดแต่จะค่อยๆ เพี้ยนไปจากเดิมแล้วกลืนเข้าสู่สีใหม่ตลอดทั้ง 7 สี
                การที่แสงสีขาวผ่านปริซึมแล้วแยกออกไปสีต่างๆนั้นเป็นเพราะแสงสีต่างๆ มีความถี่ของคลื่นแสงต่างกัน จึงทำให้ความสามารถของคลื่นแสงในการผ่านปริซึมได้ไม่เท่ากันทำให้ทิศทางของแสงสีในแท่งแก้วปริซึม แบนแยกออกจากกันเราเรียกว่า การหักเหของแสง ( Refraction ) เราอาจพูดได้ว่าการหักเหของแสงจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่นแสง และสมบัติของตัวกลางที่แสงผ่าน สมบัติของวัตถุ หรือตัวกลางนี้มีค่าที่เรียกว่าดัชนีหักเหของวัตถุ ( Refractive Index )  ที่กล่าวมาแล้วเราพูดถึงแสงสีขาวแยกออกมาเป็น 7 สีแต่ยังไม่ได้พูดถึงวัตถุที่เป็นสี เช่น เสื้อสีแดง, กระดาษสีเหลือง หรือหน้ากระดาษที่ผู้อ่านกำลังอ่านตัวอักษรสีดำอยู่นี้ก็มีสีที่บอกได้ ว่าสีอะไรทั้งๆที่ตัววัตถุเองไม่มีแสงสว่างในตังเอง แต่ที่มีสีต่างๆ กันได้ก็เพราะกระดาษขาวเป็นตัวสะท้อนแสงที่ดีที่สุด สะท้อนทุกสีมาเข้าตาเรา ซึ่งเป็นผู้มองดูสีดำคือตัวสะท้อนแสงที่เลวที่สุด เพราะดูดกลืนหมดทุกสี ยกเว้นสีนั้นที่สะท้อนมาเข้าตาเรา เราจึงบอกได้ว่าวัตถุนั้นเป็นสีนัยน์ตาของมนุษย์เราไวที่สุดต่อแสงสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลือง  แสงที่มีขนาดแสงถัดจากแสงสีแดงนั้นจะมีความยาวคลื่นแสงยาวกว่าคลื่นแสงสีแดงนั้นนัยน์ตาของมนุษย์เราไม่สามารถแลเห็นได้เรียกว่า รังสีแสงใต้แดง ( Infared Raye หรือ Dark heat rays ) แสงชนิดนี้ไม่จัดเข้าอยู่ในพวกแสงสว่าง เพราะจอประสาทตาของมนุษย์ไม่สามารถรับความรู้สึกได้  ส่วนแสงที่มีความยาวคลื่นแสงถัดจากแสงสีม่วง จะเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นแสงสั้นกว่าคลื่นแสงสีม่วง นั้นนัยน์ตาของมนุษย์เราไม่สามารถแลเห็นได้เช่นกัน เราเรียกรังสีแสงนี้ว่า รังสีเหนือม่วง ( Ultra – Violet Rays  หรือ Dark Chemical Rays )
              
               อวัยวะที่เกี่ยวกับการมองเห็น ( Organ of Vision ) ของร่างกายมนุษย์นั้นเมื่อสัมผัสกับคลื่นแสงของรังสีอินฟราเรดหรือรังสีอุลตร้าไวโอเลต นั้นจะได้รับอันตรายโดยเฉพาะรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งเป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นแสงมากกว่ารังสีอินฟราเรดซึ่งเป็นรังสีที่มีความยาวคลื่นแสงสั้น ( Long Ultraviolet And Short infrared ) ดังนั้นเราสามารถป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้โดยสวมแว่นตาที่ฉาบสารเคมีไว้ที่ผิวเลนส์ เลนส์ชนิดนี้คือเลนส์ ยู . วี . เอ็กซ์ . ( U.V.X. Lense )
                รังสีอุลตร้าไวโอเลตที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติคือรังสีที่มากับแสงอาทิตย์ และรังสีอุลตร้าไวโอเลตที่เกิดจากการทำให้เกิดขึ้นซึ่งรียกว่า “ Artificial Ultraviolet Light ” ได้แก่
  • หลอดไฟไอของปรอท ( Mercury Vapour ), หลอดไฟฟลูโอเลสเซ็นต์ ( Fluorescente ) หลอดไฟคาร์บอนอาค ( Carbon Arc ) , หลอดตะเกียงทังสะเตน ( Tungaten Lemps. ) หลอดไฟเหล่านี้จะให้รังสีทั้งอุลตร้าไวโอเลตและอินฟราเลเด
  • การที่นัยน์ตามนุษย์สามารถมองเห็นสีเป็นสีต่างๆ ได้นั้นเกิดจากการผสมสีเข้าด้วย และหากนำแสงสีใดก็ตามที่แยกออกมาได้นี้มา   2 สีผสมกันในสัดส่วนที่พอเหมาะแล้วจะเกิดเป็นแสงสีขาวขึ้น เช่น แสงสีแดงผสมกับ น้ำเงิน – เขียว    สีส้มกับสีน้ำเงิน, หรือสีเหลืองกับสีน้ำเงิน, ก็จะเรียกว่าเป็นสีที่เป็น Complementary Pair   ขณะเดียวกัน หากนำแสงสีอื่นๆ มารวมกันก็อาจจะให้สีที่แตกต่างกันไปอีกมากมาย เช่น สีแดงผสมกับสีเหลืองจะได้สีส้ม เป็นต้น
             Joung  อาศัยปรากฏการณ์ที่ค้นพบนี้มาวิเคราะห์ใหม่พบว่าสามารถลดสีปฐมภูมิ 7 สีของนิวตันเหลือเป็นแม่สีเพียง 3 สีเท่านั้น คือสีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดงที่ สามารถผสมกันเกิดเป็นสีต่างๆ ได้ เขาจึงตั้งเป็นทฤษฎีอธิบายการมองเห็นสี ( Color Vision ) ที่เรียกว่า Trichomatic Theory  ขึ้นในปี ค.ศ. 1802
             
   การเกิดการผสมสีทั้ง 3   สีเข้าด้วยกันเรียก Trichomatic   Matching ในผู้ชายบางคนจะมีความบกพร่องในการแลเห็นสีประมาณ 2 %  และผู้ชายบางคนจะมีความบกพร่องในการแลเห็นสีได้ถึง 6%  ซึ่งสีบางสีที่บกพร่องไปอาจเกิดชั่วคราว จอประสาทตาของมนุษย์จะมี Photoreceptor ที่ทำหน้าที่รับแสงสีต่างๆ คือ Cone cell  3 ชนิดที่มี   Pigment  3 สี คือ สีน้ำเงิน, สีเขียว, และสีแดง แยกกันอยู่ การที่คนเราเห็นสิ่งใดก็ตามมีสีก็เนื่องจากของสิ่งประกอบด้วย Pigment ที่สามารถดูดซึมแสงสีส่วนใหญ่เอาไว้ และสะท้อนแสงหรือให้แสงอีกช่วงความยาวคลื่นหนึ่งที่อยู่ในแถบสีสเปคตรัม ( 400 – 700 NM ) ผ่านทะลุมาถึงตาของเรา เช่น วัตถุหนึ่งเห็นเป็นสีดำ ก็เนื่องจากมันสามารถดูดซึมแสงทั้งหมดที่ตกกระทบ หรือที่เราเห็นเลือดเป็นสีแดงเพราะเลือดมี Pigment สีแดง ที่สามารถดูดซึมแสงที่มีความยาวคลื่นต่ำกว่า 600 NM  เอาไว้แล้วให้แสงที่มีความยาวคลื่น มากกว่าสะท้อนกลับ หรือผ่านทะลุมาจนถึงจอประสาทตาของเรา จนเกิดการกระตุ้น Red – Sensitive Cone ซึ่งภายในมี Visual Pigment ที่สามารถดูดซึมแสงที่มีความยาวคลื่นช่วงนี้ ( 7600 NM ) ได้ดีที่สุด ตาม Spectral Sensitive Curves  ดังนั้นเราจึงเห็นเป็นสีแดง ส่วนการที่เราเห็นวัตถุใดก็ตามเป็นสีขาว ก็อาจเกิดจากวัตถุนั้นสะท้อนแสงทั้งหมดกลับมากระตุ้น Cone Cell   ทั้งสามชนิดที่จอประสาทตาของเราพร้อมกัน หรือมิฉะนั้นก็อาจสะท้อนแสงที่เป็น   Complementary Pair     มากระตุ้นจอประสาทตาของเรา ขณะเดียวกันการกระตุ้น Visual Pigment  3 ชนิดนี้พร้อมกันในอัตราส่วนต่างกันได้มากมาย ( Color Discrimination ) เช่นเดียวกับการผสมสี
                  
  ตาบอดสี Color Blind
              คนที่ตาบอดสีหมายความว่า มีความผิดปกติในการแลเห็นสีต่างๆ นั่นคือคนที่ตาบอดสีนั้นจะไม่สามารถแยกสีต่างๆ ได้ทั้ง   3   สี คือ สีแดง , สีเขียว, และสีน้ำเงิน เพราะเซลล์รับประสาทรับสี ( Cone – Pigment ) ไม่ทำงานหรืออ่อนกำลังลง ผู้ป่วยที่เห็นสีผิดปกติ ( Color Deficiency ) สามารถแบ่งออกเป็น   2 พวกใหญ่ๆ คือ
1.       Acquired Defective Color Vision ) เป็นชนิดที่เกิดเนื่องจากโรคของประสาทตาหรือรับจอภาพ เช่น โรคจอรับภาพหลุดออก หรือโรคประสาทตาฝ่อ ซึ่งโรคพวกนี้ไม่ค่อยสำคัญ เพราะภาวะการมองเห็นไม่ค่อยดี
2.       Congenital Defective Color Vision    เป็นชนิดที่เป็นมาแต่กำเนิด
ตาบอดสีชนิดเป็นมาแต่กำเนิดนั้นเราแบ่งตาบอดสีได้เป็น    3    ชนิด
-          ตาบอดสีแดง
-          ตาบอดสีเขียว
-          ตาบอดสี ทั้งสีเขียว และสีแดง
การที่ตาบอดสีใดสีหนึ่งหรือแค่การเห็นสีนั้นอ่อนลงจะทำให้การมองเห็นสีผิดไปจากความเป็นจริง เช่นในบางแสงส่วนผสมของสีแดงกับสีเขียวจะเห็นเป็นสีเหลือง 
            ถ้าคนที่ตาบอดสีแดงจะเห็นแสงสีแดงกีบสีเขียวกลายเป็นสีเหลือง และเห็นแสงสีเหลืองเป็นสีเขียว           
               การที่คนเราจะรู้อะไรขึ้นอยู่กับการาศึกษาและประสบการณ์ บางคนจะไม่ทราบเลยว่าตัวเองเป็นตาบอดสี เพราะได้ถูกสอนให้เรียนรู้สีต่างๆ มาตั้งแต่เด็ก จึงสามารถเรียกสีต่างๆ ได้เหมือนคนปกติ แตะจะเรียกสีผิด เมื่อเทียบระหว่างสีใกล้เคียงกัน เช่น ขณะเล่นบิลเลียด และหลักการอันนี้เองที่นำมาใช้ในการตรวจตาบอดสี
               
ตาบอดสีชนิด Congenital เป็นทางกรรมพันธุ์ และถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้โดย X – Linked Recessive ดังนั้นจึงพบได้ในผู้ชายทั้งหมด ผู้ชายที่ตาบอดสีทั้ง 2   ชนิดมีอยู่ประมาณ 
3 – 5 %  ของคนทั่วๆไป และชนิดตาบอดสีแดง ตาบอดสีเขียวมีอัตราส่วนเท่ากับ 2 : 7  เพศหญิงเกือบจะไม่เป็นตาบอดสี แต่เป็นตัวการนำถ่ายทอดไปยังบุตรชายของตัว        
                พวกที่ตาบอดสีทั้งสีเขียวและแดง จะเห็นทุกสีเป็นสีขาวกับดำชนิดนี้พบน้อยมาก การผิดปกติของการแลเห็นสีต่างๆ มีสาเหตุมาจาก
1.       มีการเปลี่ยนแปลงของชนิดหรือระดับความสามารถของ Photo Pigments
2.       มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณหรือความหนาแน่นของ    Pigments
3.       เรติน่าไม่มี   Pigments
4.       มีการเปลี่ยนแปลงของขบวนการทางระบบประสาทเกี่ยวกับการรับภาพ
 
การแยกตาบอดสีชนิด Acquired  ออกจาก Congenttal
        1. น้อยครั้งที่ผู้ป่วย Congenital   จะบอกสีผิด ในขณะที่ผู้ป่วย Acquired   รายที่เพิ่งมีความผิดปกติ มักจะบอกสีผิดเสมอ และมักจะบ่นว่า สีของสิ่งที่คุ้นเคยดูผิดแผกไปจากเดิม
        2. หากเป็น   Congenital    ความรุนแรงจะเท่ากันทั้งสองตาขณะที่ชนิด Acquired   อาจเห็นสีผิดปกติเพียงตาเดียว หรืออาการในตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
        3. ชนิด  Congenital    ส่วนใหญ่จะถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบ X – Linked Recessive   ดังนั้นเกือบทั้งหมดจะพบในผู้ป่วย และมักตรวจพบว่าตาบอดสีแดงและสีเขียววิธีทดสอบผู้ป่วยอย่างง่ายๆ คือ ผู้ป่วยมักจะ แยกสีม่วงกับสีน้ำเงินไม่ได้ ขณะที่ชนิด Acquired   มักจะมีตาบอดสีน้ำเงินแบะสีเหลืองผู้ป่วยจะสามารถแยก 2   สีนี้ได้เสมอ
      4. ชนิด   Congenital    จะไม่พบความผิดปกติใดๆ ของเรติน่า และประสาทตา ( Optic nerve ) ขณะที่ชนิด Acquired มักตรวจพบสาเหตุเสมอ เช่น การเสื่อมของเรติน่า การลอกหลุดของเรติน่า เป็นต้น
      5.   ชนิด Congenital    จะมีอาการคงที่ ขณะที่ผู้ป่วยชนิด Acquired    อาจมีความรุนแรงของโรคไปได้ตลอดชีวิต
 
ตาบอดสีชนิด   Congenital   Colar Defect
1. Anomalous Trichomaly  หรือ Trichromatism เป็นชนิดที่พบมากที่สุด ผู้ป่วยเหล่านี้จะมี Cone pigment  ทั้ง   3 ชนิด แต่จะมีชนิดหนึ่งที่ทำงานผิดปกติไป
                1.1 Protanomaly  มีความผิดปกติของ Red – Sensitive Cone พบประมาณ   1% ของพลเมือง ( ตาบอดสีแดง )
                1.2 Deuteranomaly  มีความผิดปกติของ Green – Sensitive Cone พบมากที่สุด คือประมาณ   5%  ของพลเมือง ( ตาบอดสีเขียว )
ทั้งสองชนิดนี้มีการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรมแบบ   X – Linked Recessive  
                1.3 Tritanomaly มีความผิดปกติของ Blue – Sensitive Cone  พบผู้ป่วยประเภทนี้น้อยมาก ( ตาบอดสีน้ำเงิน )
2. Dichromatism ผู้ป่วยประเภทนี้จะมี   Cone Pigments  2   ชนิดประกอบด้วย
                2.1 Protanopia  ผู้ป่วยจะขาด   Red – Sensitive Cone  พบประมาณ   1%  ( ตาบอดสีแดง )
                2.2 Deuteronopia  ผู้ป่วยจะขาด Green – Sensitive Cone พบประมาณ   1%  เช่นเดียวกัน (ตาบอดสีเขียว)
                2.3 Tritanopia   พบได้น้อยมาก และจะแยกจาก   Acquired   Color Vision   Defect เช่น Dominant Inherited Optic Atrophy  ได้ยากเพราะจะมีความสับสนในการแยกระหว่างสีน้ำเงินกับสีเหลือง เหมือนกัน
3. Monochromatism  หรือ Achromatopia  คือผู้ป่วยที่มี Cone Cell เพียงชนิดเดียวหรือไม่มีเลย ( Rod Monochromatism ) ซึ่งความผิดปกติพวกนี้พบได้น้อยมาก
                               
วิธีทดสอบตาบอดสี Color Vision Test
                วิธีทดสอบตาบอดสี มีหลายวิธี แต่วิธีที่สะดวกราคาถูก ง่ายและแปลผลได้แม่นยำพอสมควร เหมาะสำหับการใช้เป็น Screening Test คือ การทดสอบด้วย Ishihara Plante  ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป
 เรียบเรียงโดย.....ฝ่ายวิชาการ
 วันเลือกตั้งชาวแว่นตา ครั้งที่   16 

 




ความรู้เกี่ยวกับสายตา

ภาพทดสอบตาบอดสี
กายวิภาคของลูกตา
สายตาสั้น ( MYOPIA )
สายตายาว ( HYPEROPIA )
สายตาเอียง ( ASTIGMATISM )
สายตายาวในวัยชรา (presbyopia)
โปรโมชั่น



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

■ http://www.hiluxoptical.com/ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗■ สำนักงานแว่นตา ไฮลักส์ และ บริษัท ไฮลักส์ ออฟติคอล โมบาย จำกัด โทร 02-4540417 , 02-8044116 Fax. 02-4133276 ■ Email: hiluxoptical@hotmail.com ■ HILUX OPTICAL Mobile Co., Ltd.