ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ผู้ป่วยโรคตามักมีอาการสายตามัวสายตามืดมองไม่เห็นไม่ชัดร้องทุกข์ด้วยเรื่องสายตา เพราะโรคตาทั่วๆ ไป ย่อมทำให้สายตามัวลงได้มากน้อยสุดแต่ธรรมชาติและพยาธิสภาพของโรคตา แต่มีจำพวกหนึ่งที่สาเหตุที่อยู่ส่วนของตาที่เกี่ยวข้องกับการหักเหของแสงโดยเฉพาะ เพราะเรามีข้อบกพร่องอยู่ในระบบการหักเหของแสงภาพวัตถุ จึงไม่ไปรวมกันและตกที่จุดศูนย์กลางของเยื่อประสาทพอดีได้แต่รับภาพไม่ชัด การบกพร่องนี้เกิดขึ้นในระบบการหักเหของแสงจากอวัยวะของตา จึงทำให้ตาไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่พวกนี้เรียกว่า สายตาผิดปกติ ( Ammetropia )
เด็กทารกในอาทิตย์แรกๆ นี้ลูกตาขนาดวัดได้ประมาณ 16-18 ม.ม. แต่ทราบกับว่าการเติบโตของลูกตานี้รวดเร็วกว่าอวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย เช่นขนาดของ แขน ขา หรือลำตัว เป็นต้น พออายุได้ประมาณ 5-6 พบว่า เติบโตขึ้นมาได้ขนาดพอดีกับผู้ใหญ่คือ เป็นรูปค่อนข้างทรงกลมความยาวประมาณ 23-24 ม.ม. และจะไม่เติบโตขึ้นอีก
การเปลี่ยนแปลงขนาดของลูกตาและของสายตานั้น ได้ทำการค้นคว้ากันในบางแห่งเช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ สวีเดน และ ไทย เด็กแรกเกิดมักเป็นสายตายาวและยาวน้อยลงตามอายุและพอถึงวัยเข้าเรียนหรือ ในขั้นแรกของชีวิตในวัยเรียนสายตาจะผิดปกติแต่บางคนอาจจะผิดปกติไป คือการเจริญเติบโตจากขนาดเดิมหรือโตไม่ดีเท่ากับธรรมดาก็ทำให้สายตายังคงยาวอยู่ถ้าเกิดโตตามเกณฑ์ของธรรมชาติ สายตาก็จะยาวน้อยลงจนลูกตาเจริญได้ขนาด 23-24 ม.ม. กลายเป็นคนสายตาปกติไปในวันหนึ่ง แต่ในบางคน ลูกตาจะเจริญออกไปเรื่อยจนเลยขอบเขตขนาดปกติคือ 23-24 ม.ม. ก็จะกลายเป็นคนสายตาสั้นไปได้
สายตาผิดปกติมีอะไรบ้าง
เพื่อเข้าใจเรื่องสายตาผิดปกติให้ง่ายขึ้นเราสมมติเลนส์นูนขึ้นมาอันหนึ่ง เลนส์นั้นหนามากและทำให้แสงหักเหมาได้มาก สมมติว่ามีแสงมาจากที่ไกลและผ่านเลนส์แล้ว แสงนั้นจะหักเหมารวมกันเป็นจุดที่หลังเลนส์ที่ระยะ 24 ม.ม. ตาของเราเปรียบเหมือนเลนส์อันนี้และถ้าหากเอาจอมาวางตรงจุดรวมแสงของเลนส์ก็จะได้ภาพชัดที่สุด ซึ่งตำแหน่งนี้ตรงกับตำแหน่งของเยื่อตาข่ายประสาทตา ซึ่งเรียกว่าจุดเหลือง ( Macual Lutea ) ซึ่งมีความไวต่อแสงได้ดีที่สุด ฉะนั้นขอให้ผู้อ่านเข้าใจระบบหักเหแสงของมนุษย์เรานี้ประกอบด้วยเลนส์นูนกับฟิล์ม ซึ่งอยู่หลังเลนส์ประมาณ 24 ม.ม. ระบบหักเหแสงของตาเช่นนี้เรียกว่าสายตาปกติเพราะว่าภาพของวัตถุจากที่ไกลจะรวมกันชัดที่สุดที่บนแผ่นฟิล์มเสมอไป แต่ระบบเช่นนี้จะผิดแปลกไปหลายอย่างด้วยกัน ถ้าหากว่าตำแหน่งของฟิล์มเลื่อนไปอยู่ทางด้านหลัง จะทำให้แสงไปรวมกันเป็นจุดที่ด้านหน้าฟิล์มภาพก็ไม่ชัด ถ้าฟิล์มอยู่ที่เดิม แต่ถ้าเลนส์นูนมากขึ้น การหักเหของแสงมากขึ้น จุดรวมของแสงก็จะอยู่หน้าฟิล์มภาพก็ไม่ชัด เช่นนี้เรียกว่าสายตาสั้น ซึ่งเกิดขึ้นได้จากภาพชัดเกิดขึ้นที่ทางด้านของฟิล์มและบนฟิล์มก็มีแต่รูปไม่ชัด ในทำนองกลับกัน ถ้าเลนส์นูนคงที่แต่ฟิล์มมาอยู่ทางด้านหน้ากว่าเดิมหรือฟิล์มอยู่กับที่แต่กำลังหักเหของเลนส์น้อยลง คือนูนน้อยลงจะทำให้แสงหลังจากผ่านเลนส์แล้วตกไปเป็นจุดที่ทางด้านหลังของฟิล์ม และภาพบนฟิล์มก็ไม่ชัดอีกเหมือนกับพวกสายตาสั้น เป็นเช่นนี้เราเรียกว่าสายตายาว
จะเห็นได้ว่าสายตาผิดปกติมีอยู่ 2 แบบ แบบหนึ่งภาพที่ตกหน้าฟิล์ม คือสายตาสั้น และอีกแบบหนึ่งภาพตกที่หลังฟิล์ม เรียกสายตายาว
การเลื่อนตำแหน่งของฟิล์มก็หมายถึงการเติบโตของลูกตาที่ผิดปกตินั่นเอง กล่าวคือลูกตายาวออกไปกว่าปกติ ก็ทำให้สายตาสั้นไป และถ้าไม่ยาวออกก็จะเป็นสายตายาวแบบนี้พบในสายตาสั้นหรือยาว เป็นแต่กรรมพันธุ์ส่วนใหญ่ ส่วนการเปลี่ยนแปลงในความนูนของเลนส์นั้นพบในสายตาสั้นชนิดเบาหรือปานกลาง ชนิดแรก เรียกว่า Axial Ammetropia ส่วนชนิดหลังนี้เรียกว่า Refractive Ammetropia
การวัดสายตา
ในการวัดสายตานั้นมีข้อระมัดระวังหลายอย่างด้วยกัน กล่าวได้ว่า แบบแผนต้องใหม่และทำขึ้นมาตามวิธีที่กำหนดไว้ และต้องคำนึง :-
ความสว่างบนแผ่นวัด พบว่า 200-500 ลักซ์ วัดสายตาได้ดีที่สุด มีมากหรือสว่างมาก จะทำให้สายตาเลวลง
- ห้องวัดต้องสว่างพอควร
- วัดสายตาหลายๆครั้งดูคล้ายกับว่าสายตาดีขึ้น ปกติวัดสายตาขาวก่อนและตาม ด้วยตาซ้าย วัดตาเปล่าก่อนถ้ามีแว่นตาใช้ก็จะสวมวัดสายตาอีกครั้งทีหลัง สำหรับคนไม่มีแว่นตาให้ใช้แผ่นที่มีรูปเล็กๆ ซึ่งอยู่ตรงกลางแล้วให้มองลอดรู คนสายตาผิดปกติ (สั้น ยาว เอียง ) จะเห็นดีขึ้นและอ่านได้อีก 2 ถึง 3 บรรทัด ถ้าเป็นเช่นนี้ทำให้เราพอทราบได้ว่าที่เขาสายตาไม่ดี เพราะการหักเหของตาไม่ดี ซึ่งตรงข้ามกับผู้ป่วยที่มีสายตาผิดปกติ จากพยาธิสภาพอย่างอื่น รูเล็กเช่นนี้ไม่ช่วยให้สายตาของเขาดีขึ้น นับว่าเป็นวิธีที่ดีและเร็ว ซึ่งแยกจากจำพวกสายตาผิดปกติออกจากโรคตาเป็นสาเหตุทำให้สายตามัวลง
เมื่อผู้ป่วยอ่านได้แต่ตัวใหญ่ที่สุดของสายตาเขาก็ได้แก่ 6/60 แต่ถ้าอ่านไม่ได้จะต้องให้ผู้ป่วยเดินเข้าหาแบบแผน เช่นเดินเข้าไปห่าง 4 เมตรจึงเห็นสายตาเขาก็เท่ากับ 4/60 ถ้าสองเมตรก็ 2/60 แต่ถ้าต่ำกว่า 1/60 จะให้ผู้ป่วยนับนิ้วของผู้ตรวจให้ผู้ป่วยนับว่าผู้ตรวจชี้ควรจะใช้สองนิ้วหรือสามนิ้ว เพื่อให้ผู้ป่วยอ่านง่าย ถ้าถูกต้องให้เขียนว่า F.C. ย่อยมาจาก Finger count บางคนนับนิ้วมือไม่ได้ผู้ตรวจโบกมือไปมาทิศทางขึ้นลง ซ้ายบ้าง ขาวบ้าง ให้ผู้ป่วยบอกว่ามีอะไรอยู่ข้างหน้า ถ้าผู้ป่วยบอกได้ว่ามีมือไหวๆ อยู่ก็ใช้ได้ให้เขียนว่า H.M. ย่อมาจาก Hand movement บางครั้งโบกมือไปมาไม่รู้การเคลื่อนไหว จำเป็นต้องให้ฉายไฟส่องไปที่ตา ให้ผู้ป่วยบอกว่าไฟมาจากทิศไหน ลองดูทั้ง 4 ทิศ ถ้าบอกได้แสดงว่าเยื่อตาข่ายประสาทยังสามารถรับรู้แสงได้ทุกส่วนให้เขียนเป็น Pj ย่อมาจาก Project of light บางคนรับรู้สว่างและมืด ไม่สามารถบอกทิศทางได้ ให้เขียนเป็น Pi. ย่อมาจาก Perception of light ถ้าไม่รู้สึกมีไฟก็เป็น Absolute blind เป็นบอดชนิดสมบูรณ์ หรือ No Pl. ซึ่งย่อมาจาก No pereception of light
การสูญเสียของสายตา หรือเรียกว่าบอดนั้นมีหลายแบบด้วยกัน ตาบอดส่วนใหญ่ซึ่งเกิดจาก โรคบางชนิดเป็นผลให้กลายเป็นบอดสมบูรณ์ ( Absolute blind ) แต่โรคบางชนิดไม่ถึงกับการบอดสมบูรณ์ แต่พอเห็นบางเหลือสายตาไว้พอช่วยตนเองได้ แต่ถ้าไม่สามารถประกอบอาชีพทำมาหากินได้ เช่นนี้เหมือนกับคนหมดประสิทธิภาพ และเป็นคนพิการอย่างหนึ่งเรียกว่า Social blind ในประเทศเจริญรุ่งเรืองอาชีพบางอย่างคนมีสายตาดีจึงจะปฏิบัติงานได้ เช่นโรงงานอุตสาหกรรมกรที่เคยมีสายตาดีมาก่อนเกิดสายตาเอียงจนไม่สามารถทำงานได้เรียกว่า Industrial blind ส่วนมากกว่า 6/60 สำหรับงานละเอียด และสำหรับชาวนาประมาณ 1/60 คนมีสายตาเหลือเพียงนี้ก็เรียกว่าเป็นคนสายตาบอดได้ แต่มาสมัยนี้มีการอบรมฝึกอาชีพใหม่เกิดขึ้นกับคนเหล่านี้ เพื่อให้ได้อาชีพใหม่และสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ( Rehabiltation ) ซึ่งหมายถึงพยายามยกฐานะของคนพิการเพื่อให้กลับมาสู่ชีวิตในสังคมทั่วไปโดยไม่น้อยหน้ากับคนอื่นๆ จึงมีคำเรียกคนพวกนี้ใหม่ว่า Partially sighted สำหรับเด็กสายตาอ่อนหรือสายตาไม่ดีพอที่จะศึกษาเล่าเรียนตามโรงเรียนสามัญได้ ก็มีโรงเรียนตาบอด School for the blind แต่ตามความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์นับวันเด็กตาบอดสมบูรณ์น้อยลง และ Partiallo sighted มากขึ้น มาสมัยนี้โรงเรียนตาบอดบางแห่งจึงเปลี่ยนชื่อเป็น School for the patially sighted หรือเลิกโรงเรียนตาบอดเสียแต่ให้ไป เรียนตามโรงเรียนสามัญ แต่ในชั้นพิเศษ เป็นต้น
สายตาผิดปกติ Ammetropio
ระบบหักเหแสงของตา เพื่อให้ภาพของวัตถุภาพนอกตามาตกที่จุดเหลืองของข่ายประสาทตาให้ชัดที่สุดตาเราก็มีระบบเลนส์หรือระบบหักเหของแสง เพื่อให้มีการหักเหเกิดขึ้นพอดีไปรวมเป็นจุดที่ตาข่ายประสาทตาระบบนี้เปรียบเทียบเหมือนกล้องถ่ายรูป
แก้วตาและกระจกตาเป็นเลนส์นูนสองอัน มีม่านตา มีรูปเปลี่ยนขนาดได้สุดแต่ปริมาณของแสงเข้ามาในตา ผนังลูกตาก็ได้แก่ห้องมืดของกล้องและตาข่ายประสาทตาก็เป็นฟิล์มนั้นเอง
เมื่อมีลำแสงหรือรังสีแสงสว่างผ่านมากระทบกับผิวหน้าสุดของลูกตาซึ่งเรียกว่า กระจกตาดำ เนื่องจากดัชนีหักเหของเนื้อกระจกตาดำกับของอากาศต่างกันมาก (1.36 กับ 1.00 ) และผิวด้านหน้าของกระจกตาดำเป็นผิวที่เกลี้ยงเหมือนเลนส์จึงมีการหักเหเกิดขึ้นเป็นขั้นหนึ่งเป็นไปตามกฎของการหักเหของแสง หักมากน้อยขึ้นอยู่กับรัศมีความโค้งของกระจกตาดำแบะดัชนีหักเห คือ D = N2 - N1
R
D = Diopter Refracting power แสดงถึงความมากน้อยของการหักเหของแสง - กำลังหักเห
N2 = ดัชนีหักเหของแสงกระตาดำ
N1 = ดัชนีหักเหของแสงของอากาศ
R = รัศมีความโค้งของแก้วตาดำเป็นเมตรและโดยปกติหาได้ว่า D ของกระจกตาดำประมาณ 45 D คือเป็นเลนส์นูนที่มีระยะรวมของแสงเท่ากับ 2.25 ซ.ม. นับว่าเป็นเลนส์นูนที่หนามาก
หลังจากผ่านกระจกตาดำก็จะต้องไปตามน้ำที่อยู่ระหว่างกระจกตาดำ และแก้วตาของตาซึ่งกระจกนี้อยู่ห่างจากแก้วตาประมาณ 2.5 ม.ม. เนื่องจากแก้วตาอันนี้รูปร่างคล้ายเป็นเลนส์นูนตามธรรมชาติและดัชนีหักเหสูงกว่าน้ำที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังรังสีแสงหักเหอีกครั้งหนึ่ง หลังจากภาพนั้นรังสีแสงตกมาทีเยื่อตาข่ายปราสาทตาเกิดเป็นภาพขึ้น แก้วตาคำนวณได้มีกำลังหักเหประมาณ 20D เพราะฉะนั้นระบบหักเหของตาทั้งหมดนี้มีกำลังหักเหประมาณ 65D
ตามที่กล่าวมาข้างตนเป็นการหักเหของแสงเมื่อตานั้นอยู่ในสภาพพักผ่อนหมายความว่าตาของเรานี่เมื่อไม่ตั้งใจจ้องมองวัตถุแต่อย่างใดส่วนต่างๆ ดังกล่าวของตาก็อยู่ภาวะที่เรียกว่าหยุดพัก เหมาะที่จะมองวัตถุที่อยู่ไกลที่สุด และในเมื่อพักผ่อนเช่นนี้ภาพภาพของวัตถุจะทำให้เกิดภาพชัดที่สุดที่จุดเหลือง เราเรียกกันว่าสายตาหรือภาวการณ์หักเหของแสงของตาอันนั้นเป็นปกติ สภาพหักเหเช่นนี้เรียกว่า Static refraction แต่ในชีวิตประจำวันของเรา เราจำเป็นต้องย้ายที่ดูเสมอๆ ดูวัตถุอยู่ไกล แล้วกลับมาดูใกล้ หรือ อาจต้องดูวัตถุไกล
ออกไปหรือเข้าใกล้เข้ามาจำเป็นต้องให้ได้ภาพ อันนั้นตกภาพที่ชัดเจนที่สุดเสมอที่จุดเหลืองเพื่อการอันนี้จึงเกิดมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนกำลังหักเหของตา อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตาเหตุการณ์สุดแต่ระยะทางจากตา การหักเหแบบนี้เรียกว่า Dynamic Refraction และอันหลังคือ การหักเหของตาธรรมชาติ ซึ่งเราควรจะทราบและจะต้องทำความเข้าใจให้ดี เพื่อทำความเข้าใจกับการทำงานของตา การทำงานของตาแบบ Dynamic Refraction นี้ทำได้อย่างไรหน้าที่อันนี้ได้แก่การทำงานของแก้วตา คือเลนส์อันที่สองในระบบหักเหของตา
เมื่อตาพักผ่อนเต็มที่ กระจกตานี้มีรูปร่างอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้มีการหักเหของแสงแบบหนึ่งฉะนั้นเมื่อมองดูวัตถุใกล้เข้ามา ถ้ากระจกไม่เปลี่ยนแปลงการหักเหภาพจะไม่ไปตกข้างหลังจุดเหลือง ภาพจึงไม่ชัดไป
ภาพที่เกิดขึ้นที่จุดเหลืองซึ่งถูกนำไปสู่สมองซึ่งสมองก็ทราบทันทีว่าภาพนั้นไม่ชัด จะมีคำสั่งส่งมาจากสมองทันที ตรงมายังกล้ามเนื้อชนิดหนึ่งเรียกว่า ciliary muscle ที่อยู่ใน ciliary body ของลูกตากล้ามเนื้อที่หดตัวทันที เนื่องจากกล้ามเนื้อ ciliary muscle หดตัว เส้นใยดังกล่าว ซึ่งมีชื่อเรียกว่า zonules ก็จะหย่อนและทำให้กระจกตาที่เคยตรึงอยู่จะหย่อนและเปลี่ยนรูปร่างหนาขึ้น ซึ่งทำให้ความโค้งทางด้านหน้าเพิ่มขึ้น ก็เป็นการเพิ่มกำลังหักเหของมัน การหักเหของรังสีก็จะมากขึ้นภาพที่ไปตกที่หลังจุดเหลืองก็เข้าใกล้เข้ามา แบะจะตกลงบนจุดเหลืองพอดี กำลังหักเหจะมากขึ้นเท่าใดขึ้นอยู่กับระยะทางของวัตถุ เมื่อได้ภาพชัดขึ้นมา คำสั่งจากสมองก็หยุดทันที นี่เป็นกลไกของ Dynamic Refraction และการเปลี่ยนแปลงในกำลังหักเหของแก้วนี้เรียกว่าการเพ่งจัดระยะ ( Accommodation ) ตามที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าแก้วตานี้มีความสำคัญเกี่ยวกับการได้ภาพชัดที่ระยะทางต่างๆ กัน
ต้อกระจกเป็นโรคตาชนิดหนึ่งที่ทำให้แก้วตาดังกล่าวมีภาพขุ่นขึ้นมา แสงสว่างไม่สามารถจะผ่านได้ และวิธีการักษาก็เป็นการผ่าตัดเอากระจกตาขุ่นนี้ออกเสียเพื่อให้แสงผ่านเข้าไปได้อีกครั้งหนึ่ง แต่การสูญเสียของแก้วตานี้ มีผลสองประการ
ประการแรกคือ เป็นการลดกำลังหักเหของตา ทำให้สายตาของเขาหรือระบบการหักเหลายเป็นสายตายาว ประการที่สองได้แก่ การสูญเสียของการเพ่งจัดระยะ ( Accommodation ) และถึงแม้เราจะแก้สภาพเป็นสายตายาวหลังผ่าตัดได้โดยการสวมแว่นตาก็ตาม การเพ่งจัดระยะ Accommodation จะไม่กลับคืนมา แว่นตาที่ช่วยก็แต่เฉพาะวัตถุที่อยู่ระยะหนึ่ง แต่ที่อยู่ระยะอื่นๆ ไม่ชัด ดูใกล้และไกลจำเป็นต้องใช้แว่นตาสองอันสลับกันไป
สายตาผู้สูงอายุก็เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งซึ่งคนเราทุกคนไม่อยากประสบปรากฏการณ์นี้อันนี้ เพราะเป็นการเตือนให้เรารู้ว่า เราได้ย่างเข้าวัยชนาแล้ว เป็นการก่อความรำคาญให้แก่การใช้สายตา ปรากฏการณ์อันนี้เกิดจากการแข็งตัวของแก้วตาเนื่องจากอายุ ความยืดหยุ่นน้อยลง จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ยากขึ้น เมื่อดูใกล้ภาพจะไปตกหลังจุดเหลือง จำเป็นต้องเอาแว่นเลนส์นูนช่วยจึงจะดึงภาพหลังจุดเหลืองกลับมาทับที่จุดเหลืองได้
สายตาเอียง
สายตาเอียงนี้ ที่กำเนิดของมันผิดไปจากสายตาผิดปกติชนิดสั้นหรือยาว คือสายตาสั้นหรือยาว มันยังมีจุดรวมแสงอยู่หน้าหรืออยู่หลังจุดเหลืองเป็นจุดเดียว แต่ พวกสายตาเอียงจะไม่รวมเป็นจุด ทั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดจากผิวด้านหน้าขอบกระจกตาดำไม่เป็นรูปวงกลมแบบหน้าปัดนาฬิกา แต่จะเบี้ยวไป ความโค้งในแนวต่างๆไม่เท่ากันบางครั้งอาจเกิดจากแก้วตาก็ได้ แต่จากกระจกตาดำบ่อยกว่า
ในธรรมชาติกระจกตาดำของเราย่อมทำให้เกิดสายตาเอียงอยู่กับคนทุกคนไม่มากก็น้อย กล่าวคือ ถ้าหากว่าเราวัดรัศมีความโค้งของกระจกตาดำในแนวนอนและแนวดิ่ง จนพบว่าในแนวโค้งน้อยกว่า คือกำลังหักเหน้อยกว่า และในแนวดิ่ง จนพบว่าในแนวนอนโค้งน้อยกว่า คือกำลังหักเหน้อยกว่า และในแนวดิ่งหักเหมากกว่า ซึ่งเป็นเพียงเล็กน้อยที่นับว่าเป็นปกติ และสำหรับแก้วตาจะมีความโค้งต่างกันในแนวสองแนวบ้างเล็กน้อย และตรงกันข้ามกับกระจกตาดำ จึงไปลบล้างสายตาเอียงที่เกิดจากกระจกตาดำ สายตาเอียงเพียงเล็กน้อยนี้ถือว่าเป็นปกติไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไข
การวัดสายตาและการแก้สายตาเอียงผิดปกติ
ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ผู้อ่านคงเข้าใจดีเกี่ยวกับระบบการหักเหของสายตาผิดปกติต่างๆ เมื่อสายตาผิดปกติโดยระบบการหักเหน้อยเกินไป ก็เป็นสายตายาว และถ้ามากเกินไปก็เป็นสายตาสั้น ดังนั้นนอกจากไปวัดสายตาออกมาเป็นตัวเลขเศษส่วนแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงว่าสั้นหรือยาว
โดยทั่วไป เมื่อวัดสายตาด้วยตาเปล่าได้ 6/6 หรือ 6//5 ก็หมายความว่าระบบการหักเหของเขาเป็นสายตาปกติหรือยาวนิดหน่อยก็ได้ ทั้งนี้แสดงว่าคนสายตายาวเล็กน้อยก่อนอายุ 40 ปี นั้น เกือบเรียกได้ว่าเป็นปกติ แต่เมื่อใกล้อายุ 40 ปี อาการสายตาผู้สูงอายุอาจจะเกิดเร็วกว่าคนทั่วไปได้
ฉะนั้นเมื่อได้ 6/5 หรือ 6/6 จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องให้เลนส์นูนหรือเลนส์บวก 50 หรือ 75 ( 0.5 หรือ 0.75 ) ทดสอบดูถ้ายังเห็นชัดดี ก็หมายความว่าเขาเป็นสายตายาวและถ้าสายตาเลวลงทันทีก็หมายความว่าเขาเป็นสายตาปกติ
การวัดสายตาแบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันคือ
1. Subjective method คือใช้ผู้ที่ตรวจเป็นเครื่องตัดสิน
2. Objective method คือผู้ตรวจเองเป็นผู้ตัดสิน