HILUX_A.pdf
1. สายตาผิดปรกติ ไม่ใส่แว่นตา จะเป็นอย่างไร
ผลเสียที่จะเกิดขึ้นในสายตาที่ผิดปรกติแล้วไม่ได้ใส่แว่นตานั้น พอจะแบ่งได้ 2 กลุ่มด้วยกันคือ
ประการแรกสายตาผิดปรกติ (สายตาสั้นหรือยาว) เท่ากันทั้งสองข้าง ถ้าไม่ใช้แว่นช่วยก็จะมองภาพไกล ( ในกรณีที่เป็นสายตาสั้น) หรือใกล้ (ในกรณีที่เป็นสายตายาว) ไม่ชัดต้องหรี่ตาหรือหยีตา เพื่อให้มองเห็นภาพชัดตลอดเวลาทำให้ตาเมื่อย ปวดหัวและเพลียตามาก ในรายที่เป็นสายตาคนแก่จะทำให้อ่านหนังสือหรือทำงานในระยะใกล้ เช่น สนเข็ม,เย็บปักถักร้อยไม่สะดวกถ้าต้องดูใกล้ ๆ นาน ๆ ก็จะทำให้ปวดตาได้นอกจากนั้นยังจะทำให้ตากุ้งยิงได้บ่อยด้วย
ประการที่สองถ้าสายตาทั้งสองข้างผิดปรกติไม่เท่ากันจะ เช่น สนเข็ม,เย็บปักถักร้อยไม่สะดวกถ้าต้องดูใกล้ ๆ นาน ๆ ก็จะทำให้เป็นตากุ้งยิงได้บ่อยด้วย
ประการที่สองถ้าสายตาทั้งสองข้างผิดปรกติไม่เท่ากัน เช่น ข้างหนึ่งสั้นมาก แต่อีกข้างหนึ่งปรกติจะทำให้การใช้สายตาทั้งสองข้างไม่เท่ากันจะใช้ข้างที่เห็นชัดมากกว่าข้างที่เห็นได้ชัดทำให้ข้างที่เห็นไม่ชัดมากกว่าข้างที่เห็นไม่ชัดนั้นเข ( จะเขเข้าหรือเขออกก็ได้ ) เมื่อตาเขอยู่นาน ๆ จะทำให้ข้างที่เขนั้นรับภาพได้ไม่ชัดเจนอย่างถาวร ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้แล้ว การแก้ไขให้กลับมาเห็นภาพชัด ๆ ได้อีกครั้งหนึ่งนั้นยากมาก
2. ใส่ ๆ ถอด ๆ กับใส่ตลอดเวลามีผลแตกต่างกันไหม?
คนส่วนมากเชื่อกันว่า ถ้าสายตาสั้นหรือยาวแล้ว ไม่ใส่แว่น จะทำให้สายตาเสียน้อยซึ่งสิ่งนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด สายตาสั้นหรือยาวมากขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของสายตาสั้นหรือยาว ถ้าสายตาสั้นที่เป็นกรรมพันธุ์ คือ พ่อ,แม่,พี่,น้อง ส่วนใหญ่สายตาสั้นตาก็จะสั้นเร็วขึ้นและมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จะใส่แว่นตาประจำ หรือ ใส่ ๆ ถอด ๆ ก็ตาม ไม่สามารถป้องกันไม่ให้สายตาสั้นสั้นต่อไปอีกได้ แต่ถ้าไม่ใช่กรรมพันธุ์ สายตาสั้นจะคงที่หรือเพิ่มขึ้นช้ามาก จะใส่แว่นประจำหรือใส่ ๆ ถอด ๆ ก็จะไม่ทำให้สายตาจะเลวลงหรือดีขึ้นแต่อย่างใด
ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดนี้พอสรุปได้ว่า การใส่แว่นตาประจำ หรือ ใส่ ๆ ถอด ๆ นั้นไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสายตาเลย การเปลี่ยนแปลงของสายตานั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของสายตาที่ผิดปรกติมากกว่า
3. ตาสั้นแล้วเพิ่มทุกปี จะทำอย่างไร
ถ้ามีสายตาสั้นแล้วเพิ่มทุก ๆ ปี ก็แสดงว่าสายตาสั้นชนิดนี้ เป็นสายตาสั้นที่เป็นกรรมพันธุ์ หรือเป็นสายตาสั้นชนิด Progressive Myopia สายตาของคนพวกนี้จะสั้นขึ้นเรื่อย ๆ และผลเสียที่ตามมาคือจะทำให้จอตาที่รับภาพเสื่อม ( Retinal Degeneration ) หรือจอตาลอก ( Retinal Detachment ) ซึ่งเป็นผลแทรกซ้อนที่น่ากลัวมาก เพราะถ้าทิ้งไว้นาน ๆ จะทำให้ตาบอดอย่าง
ถาวรได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว สายตาสั้นพวกนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงอายุประมาณ 30 ปี แล้วก็จะคงที่ วิธีปฏิบัติตัวสำหรับบุคคลที่มีสายสั้นชนิดนี้ก็คือ ควรไปรับการตรวจอย่างละเอียด โอยจักษุแพทย์ ประมาณปีละ 2 ครั้ง เพื่อว่าถ้ามีจอตาลอกขึ้นแล้ว เราจะได้ทำการรักษาให้ทันท่วงที อาการเริ่มต้นที่สำคัญของจอตาแยกก็คือ ตามัวลงและดูคล้าย ๆ กับมีอะไรมาบังตา ฉะนั้น ถ้าเกิดอาการแบบนี้ขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที ถึงแม้ว่าจะยังไม่ครบกำหนดการตรวจวัดสายตาก็ตาม ที่จริงการสั้นแบบนี้มีไม่มาก ฉะนั้นคนทั่ว ๆ ไปที่ตาสั้น ซึ่งเป็นชนิดที่จะกล่าวต่อไปไม่ควรตกใจอะไรมากนัก เพราะพวกนี้แว่นอาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่มากนัก และเมื่อร่างกายหยุดโต กำลังของแว่นมักจะคงที่
4. ใส่แว่นแล้วเห็นไม่ชัดเป็นเพราะอะไร
ในที่นี้จะขอแบ่งสาเหตุของสายตาผิดปรกติเป็นสองพวกคือ
พวกแรก เกิดจาก ( Refractive error ) คือการผิดปรกติของส่วนที่ทำหน้าที่หักเหของแสง ทำหน้าที่ผิดไป แต่รูปร่างก็ดูปรกติดีอยู่ ได้แก่ กระจกตา ( Cornea ) และแก้วตา ( Lens ) หรือจากขนาดของลูกตาผิดปรกติ คือ เล็กไปหรือใหญ่ไป ที่เรานิยมเรียกกันทั่ว ๆ ไป คือ ตาสั้น ตายาว ตาเอียง และตาคนแก่ ซึ่งสายตาผิดปรกติชนิดนี้สามารถไขได้โดยใช้แว่นตาหรือเลนส์สัมผัส
พวกสอง สายตาผิดปรกติที่เกิดจากโรคตา ส่วนประกอบต่าง ๆ ของตานับตั้งแต่ด้านหน้าไปจนถึงด้านหลัง ได้แก่ กระจกตา ( Cornea ) น้ำหล่อเลี้ยงตาส่วนหน้า ( Aqueous ) ม่านตา ( Iris ) แก้วตา ( Lens ) น้ำวุ้นหล่อเลี้ยงตาส่วนหลัง ( Vireous ) และจอตา ( Retina ) ถ้าส่วนต่าง ๆ ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เกิดอาการอักเสบ มีแผลหรือแผลเป็นก็จะทำให้แสงไม่สามารถผ่านจากด้านหน้าของตาเข้าไปยังจอตา ซึ่งมีหน้าที่รับภาพอยู่ที่ส่วนของตาได้ ทำให้สายตาผิดปรกติ
ดังนั้น ถ้ามีสายตาผิดปรกติ และใส่แว่นตาแล้วก็ยังเห็นไม่ชัดก็อาจเกิดจาก
- งของแว่นตาที่ใช้นั้น ไม่ตรงกับความผิดปรกติของสายตา เช่น แว่นหรือแก่ไป เป็นต้น
- อาจมีโรคของส่วนประกอบต่าง ๆ ของตาร่วมอยู่ด้วยเช่น ต้อลำไย ( Leukoma ) ต้อกระจก ( Cataract ) หรือจอตาลอก ( Retinal Detachment ) เป็นต้น